หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

ความหมายแอนิเมชัน (Animation)


ความหมายแอนิเมชัน (Animation)

      แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

    คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่า
ทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้
(Paul Wells , 1998 : 10 )

     แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว" ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน  และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉา่ย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว
สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน  แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียว
กับวิดิโอ   แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย  เช่นงานภาพยนตร์  งานโทรทัศน์  งานพัฒนาเกมส์  งานสถาปัตย์
งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์  หรืองานพัฒนาเว็บไซต์  เป็นต้น (ทวีศักดิ์  กาญจนสุวรรณ : 2552 : 222 )

     สรุปความหมายของแอนิเมชั่นคือ การสร้างสรรค์ลายเส้นรูปทรงต่างๆให้เกิดการเคลื่อนไหวตามความคิดหรือจินตนาการ


    ปิยกุล  เลาวัณย์ศิริ (2532 : 931-932) ได้สรุปหลักการและคุณสมบติของภาพยนตร์แอนิเมชั่นเอาไว้ดังนี้
    1. สามารถใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
    2. สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยากให้ง่ายขึ้น
    3. ใช้อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
    4. ใช้อธิบายหรือเน้นส่วนสำคัญให้ชัดเจนและกระจ่างขึ้นได้

Cr. http://wanlovea.blogspot.com/2012/09/7.html

สอนแฟลช Flash เบื้องต้น พื้นฐานอย่างง่าย

การทำ Animation ในโปรแกรม Adobe Photoshop

การสร้างงาน Animation


หลักการพื้นฐานการสร้างงาน Animation

  หลักการพื้นฐานการสร้างงาน  Animation
ภาพเคลื่อนไหว หรือที่เราเรียกว่า Animation คือ การเปลี่ยนแปลงวัตถุ โดยมีความสัมพันธ์กับเวลา เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนที่มีการเคลื่อนที่ การเดิน การวิ่ง เป็นต้น สำหรับ Flash นั้น จะมีการเคลื่อนที่อยู่ 2 ลักษณะคือ

             1.        การเคลื่อนย้ายแบบย้ายสถานที่ (Motion) เช่น วัตถุเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด B


             2.        การเคลื่อนที่โดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะ (Transform)

ประเภทของภาพเคลื่อนไหว

             การเคลื่อนไหวชนิดภาพต่อภาพ (Frame By Frame Animation)
                เป็นการเคลื่อนไหวชนิด ภาพที่ 1 ไปภาพที่ 2 ไปภาพที่ 3 … ไป ภาพสุดท้าย หรือเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวของการ์ตูนนั่นเอง

                การเปลี่ยนแปลงของภาพแต่ละภาพที่เรียงอย่างต่อเนื่องในลักษณะนี้ เหมาะสำหรับการทำ Animation ที่ซับซ้อน เช่น Animation ที่มีการเคลื่อนไหว
ลักษณะท่าทางมาก เป็นต้น ซึ่งจะใช้ภาพจำนวนมาก โดยที่แต่ละ Frame  จะใส่ภาพในลักษณะท่าทางต่าง ๆ 1 ภาพ ทำให้เสียเวลา แต่จะทำให้ภาพมีการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริง การเคลื่อนไหวชนิดกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด  (Tweened Animation)

                การเคลื่อนไหวของ Animation  ลักษณะนี้จะมีการกำหนดจุดเริ่มต้นในการแสดงภาพเคลื่อนไหว และใช้วิธีการคำนวณของ Flash ในการแสดงภาพ
ต่าง ๆ โดยที่เราไม่ต้องไปหาภาพมาเรียงต่อกัน เราสามารถแบ่งลักษณะการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

                1.   เปลี่ยนแปลงสถานที่ (Motion Tween) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการย้ายสถานที่ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ แต่สามารถเปลี่ยนสีหรือขนาดได้ คือ การเปลี่ยนแปลงจากจุด A ไป จุด B นั่นเอง โดยที่ระหว่างการเคลื่อนที่จาก A ไป B สามารถมีการเปลี่ยนแปลงขนาด เปลี่ยนสี หรือค่อย ๆ จางหายไป แต่ไม่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปยังอีกรูปหนึ่งได้  การทำ Animation ลักษณะนี้ Flash Movie จะมีขนาดเล็กกว่า การเคลื่อนไหวชนิดภาพต่อภาพ เพราะใช้
การคำนวณการเคลื่อนไหวแทนการใช้ภาพจริงหลาย ๆ มาแสดงต่อกัน    
      
                2.    เปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม (Shape Tween) เป็นการเคลื่อนไหวโดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือเปลี่ยนจากวัตถุหนึ่งไปเป็นอีกวัตถุหนึ่ง

Cr. http://watcharapongman.wordpress.com

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การรับมือแผ่นดินไหว

มาตรการรับมือแผ่นดินไหว


มาตรการรับมือแผ่นดินไหว



ที่มา: สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพ

สิ่งของจำเป็น
               การเตรียมตัวสำหรับรับมือเหตุแผ่นดินไหว ควรมีการจัดเตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น จะได้สามารถใช้อุปกรณ์ในการเอาตัวรอดเฉพาะหน้าได้ในเบื้องต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ควรจัดเตรียมไว้ มีดังนี้
               • อาหารแห้ง เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจัดเตรียมไว้ภายในบ้าน สำหรับรองรับเหตุฉุกเฉินในทุกกรณี รวมทั้งเหตุแผ่นดินไหว และควรจัดสำรองไว้สำหรับกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีต้องอพยพเนื่องจากที่พักอาศัยเสียหายด้วย
               • อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน ควรจัดสำรองไว้สำหรับกระเป๋าฉุกเฉินคู่กับอาหารแห้ง เพื่อสามารถพกพาในกรณีต้องอพยพเนื่องจากที่พักอาศัยเสียหาย
               • กระติกน้ำแบบพกพา ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย เพื่อใช้บรรจุน้ำสำหรับการบริโภคในกรณีที่ต้องอพยพ
               • เสื้อผ้าสำรอง ควรจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีต้องอพยพ
               • รองเท้าหุ้มส้น ใช้สวมใส่เมื่อเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อป้องกันเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่นๆ ที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
               • ชุดปฐมพยาบาลและยา ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย สำหรับรองรับเหตุฉุกเฉินในทุกกรณี และใช้พกพาในกรณีที่ต้องอพยพ
               • เอกสารสำคัญประจำตัว อาทิ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย เพื่อสามารถพกพาในกรณีที่ต้องอพยพ เป็นหลักฐานยืนยันสถานะสมาชิกในครัวเรือนกับทางภาครัฐ
               • วิทยุแบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง ควรจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีฉุกเฉิน และใช้รับฟังข่าวสารตลอดจนประกาศต่างๆ จากทางภาครัฐ
               • นกหวีด ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย และจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน ใช้สำหรับเป่าเรียกความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
               • ไฟฉาย พร้อมแบตเตอรี่สำรอง ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย และจัดสำรองไว้ในกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อสามารถพกพาในกรณีที่ต้องอพยพ
               • เครื่องมือดับเพลิงประจำบ้าน ให้จัดเตรียมไว้ในบริเวณที่สามารถหยิบได้ง่าย เพื่อใช้ดับเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหวในครัวเรือน

    การปฏิบัติตัวสำหรับเหตุแผ่นดินไหว
    ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ เตรียมตัว พร้อมใจสู้ภัยธรรมชาติ 
    (http://region3.prd.go.th/natural-disaster/journal6.php)
           
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
               • ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านและกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านและให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
               • ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
               • เตรียมเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น ถังดับเพลิง ถุงทราย
               • ควรทราบตำแหน่งของวาล์วน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
               • อย่าวางของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตราย
               • ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน 
               • ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายเมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
               • สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
           ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
               • อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติให้สงบ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกบ้าน
               • ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง หน้าต่าง
               • ถ้าอยู่ในอาคารสูงควรรีบออกจากอาคารโดยเร็วและหนีห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับได้
               • ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ 
               • ห้ามใช้เทียน ไม้ขีดไฟ ไฟแช้ก หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วและทำให้ติดไฟได้ 
               • หากกำลังขับรถอยู่ให้หยุดรถและอยู่ในรถ จนการสั่นสะเทือนหยุด 
               • ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว 
               • หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว
               • หลังเกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบดูว่าตนเองและคนข้างเคียงได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลในขั้นต้นจากนั้นให้นำตัวผู้บาดเจ็บส่งสถานพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ใกล้ที่สุด 
               • หากอยู่ในอาคารที่ได้รับความเสียหายควรรีบออกจากอาคารทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาจทำให้อาคารพังลงมาทับ ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ 
               • ควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ 
               • ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ และอย่าจุดไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว หากแก๊สรั่วภายในบ้านให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อระบายอากาศ 
               • ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง 
               • ให้เปิดฟังวิทยุเพื่อฟังคำแนะนำฉุกเฉิน แต่อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากมีความจำเป็น 
               • สำรวจความเสียหายของท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ก่อนใช้ 
               • ห้ามเข้าไปมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสี่ยงหรือมีอาคารพัง 
               • ห้ามเผยแพร่ข่าวลือ

GAME ADDICTION LAND ( Stop motion )