หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เผยข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์


เผยข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์



น่าทึ่งไม่ใช่เล่น เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ ประเทศอังกฤษ จับข้อมูลรายละเอียดการล่าเหยื่อของเสือชีตาร์ในธรรมชาติจากเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จีพีเอส วงแหวนตรวจจับการเคลื่อนที่ และอื่นๆ


ศาสตราจารย์อลัน วิลสัน และทีมงานสามารถบันทึกความเร็วสูงสุดของการวิ่งของเสือชีตาร์ได้ถึง 93 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว


ก่อนหน้านี้ การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของเสือชีตาร์ทำได้เพียงแค่การวัดความเร็วเทียบกับเหยื่อในทางเส้นตรง เช่น การวัดเทียบกับสุนัขเกรย์ฮาวน์ที่ชีตาร์สามารถล่าได้ แต่สำหรับการเสือชีตาร์ในธรรมชาตินั้น การประมาณความเร็วก็ทำได้เพียงแค่การศึกษาจากกล้องภาพยนตร์หรือการสังเกตการณ์โดยตรงในธรรมชาติ ในช่วงเวลาจริงที่ชีตาร์ออกล่าเหยื่อ


ล่าสุด ศาสตราจารย์วิลสัน และทีมงาน ได้พัฒนาวงแหวนติดตามที่ฝังอุปกรณ์จีพีเอสและเซนเซอร์อิเล็กทรอนิกส์วัดการเคลื่อนไหว (อุปกรณ์วัดความเร่ง สนามแม่เหล็ก และไจโรสโคป) ที่สามารถส่งข้อมูลของตำแหน่งที่ประมวผลแล้ว ความเร็ว และข้อมูลเซนเซอร์ต่างๆจากการเคลื่อนไหวของชีตาร์มายังศูนย์ประมวลผลข้อมูลโดยตรง และวงแหวนดังกล่าวใช้พลังงานจากแผงสุริยะ แบตเตอรี่ที่ประจุไฟใหม่ได้และแบบไม่ได้


ซอฟต์แวร์ของวงแหวนติดตามจะทำการตรวจจับความเร่งที่เกิดขึ้นแล้วสร้างเป็นข้อมูลสรุปการวิ่งและตรวจจับเหตุการณ์การล่าเหยื่อของชีตาร์ นอกจากนี้ยังตรวจจับสถานะการทำงานของวงแหวนด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ เวลาในการดเนินการในแต่ละวัน จนกระทั่ง นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลของการล่าเหยื่อออกมา


โดยรวมแล้ว นักวิจัยสามารถบันทึกข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์ตัวเมียและตัวผู้รวมสามตัวได้ 367 ครั้งจากการเก็บข้อมูลยาวนานถึง 17 เดือน มีการล่าเหยื่อเกิดขึ้นหลายๆครั้งที่ประสบผลสำเร็จ และข้อมูลก็ถูกส่งมาอย่างชัดเจน ละเอียด


จากข้อมูลพบว่า เสือชีตาร์จะวิ่งด้วยความเร็วเริ่มต้นพร้อมทั้งมีความเร่ง จากนั้นเสือชีตาร์จะลดความเร่งนั้นลงและเปลี่ยนกลยุทธ์ก่อนที่จะจับเหยื่อ นักวิจัยพบว่า เสือชีตาร์มีการเร่งความเร็วเกินหนึ่งช่วงประมาณ 1 ใน 3 ของข้อมูลการล่าเหยื่อทั้งหมด ในกรณีที่ประสบความเร็จจากการล่าเหยื่อนั้นนักวิจัยก็สามารถรับรู้ได้ด้วยการที่ความเร็วในการวิ่งลดลงเหลือศูนย์ ซึ่งหมายความว่า ได้เหยื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเหยื่อในกรณีนี้คือ ละมั่งแอฟริกา"อิมพาลา"


ระยะทางเฉลี่ยในการวิ่งนั้นอยู่ที่ 173 เมตร ระยะทางที่วิ่งสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 407-559 เมตร และมีการวิ่งโดยเฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อวัน และแม้จะไม่ได้เหยื่อ ถ้าเฉลี่ยแล้วการวิ่งด้วยความเร็วสูงของเสือชีตาร์ก็ทำให้ในวันๆหนึ่ง ชีตาร์จะวิ่งประมาณ 6,040 เมตร


นักวิจัยยังได้พบถึงปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อด้วย การล่าเหยื่อที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะมีการลดความเร่งลงอย่างมาก แต่จะไม่ห่างจากความเร่งสูงสุดมากเท่าไหร่ นอกจากนี้ เรื่องของระยะทางที่วิ่งมา จำนวนของการวิ่ง และองศาการเลี้ยวก็มีผลกับการล่าเหยื่อเช่นกัน ตัวชี้วัดเหล่านี้มักจะบอกถึงผลของการล่าเหยื่อได้ในช่วงท้ายๆ เพราะช่วงแรกนั้นบ่งบอกอะไรไม่ได้เพราะชีตาร์ต้องเก็บพลังงานหรือทำกิจกรรมที่ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ


ความเร่งสูงสุดของเสือชีตาร์นั้นสูงกว่าของม้าแข่งถึง 2 เท่า และเกิดกว่าความเร็วของการทดลองที่วัดจากการล่าสุนัขเกรย์ฮาวน์ไปเยอะ ความเร่งของเสือชีตาร์ระดับนี้มากกว่าของอูเซน โบลต์ ราชานักวิ่งร้อยเมตรของโลกถึงสี่เท่า


การบังคับทิศทางและการต้น ก็ยังมีผลต่อความสำเร็จในการล่าเหยื่อด้วย และความเร่งสูงสุดนั้น นักวิจัยก็พบว่า อยู่ที่ 13 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง


ศาสตราจารย์อลัน วิลสัน เผยว่า "แม้ว่าเสือชีตาร์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก แต่เราก็แทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการวิ่งจริงๆของสัตว์ชนิดนี้เลย โดยเฉพาะในเรื่องของการล่าเหยื่อ เทคโนโลยีของเราทำให้เราสามารถจับรายละเอียดของการเคลื่อนไหวในการออกล่าเหยื่อจริงๆได้เป็นครั้งแรก และผลการศึกษาก็ทำให้เราสามารถบันทึกความเร็วสูงสุด ความเร่งของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ความหน่วง และมวลร่างกายได้"


"ในอนาคต ข้อมูลที่คล้ายๆกันนี้กับสัตว์ตัวอื่นๆก็จะทำให้เรารู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการวิ่ง ความคล่องตัว และความอดทนของสัตว์ได้ จะทำให้เรารู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจจะได้ข้อมูลการคัดเลือกโดยธรรมชาติของสัตว์บางชนิด ข้อมูลการอยู่อาศัย การสร้างสังคม ที่พักอาศัย และการล่าเหยื่อได้"


สำหรับเสือชีตาร์ที่ศึกษาในการทดลองครั้งนี้อยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์นักล่าบอตสวานา ในพื้นที่บอตสวานาทางตอนเหนือของโอคาวานโกเดลตา

Royal Veterinary College (2013, June 14). Wild cheetah accelerate fast and reach speeds of up to 58 miles per hour during a hunt. ScienceDaily. Retrieved June 16, 2013, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/130614082900.htm

งานวิจัย: A. M. Wilson, J. C. Lowe, K. Roskilly, P. E. Hudson, K. A. Golabek, J. W. McNutt. Locomotion dynamics of hunting in wild cheetahs. Nature, 2013; 498 (7453): 185 DOI: 10.1038/nature12295

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น