หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไม้พุ่ม-ไม้คลุมดิน

ไม้พุ่ม-ไม้คลุมดิน

ไม้พุ่ม
                                                                    
      กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน

การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
กระเจี๊ยบแดงยังมีชื่อเรียกอื่นอีก ได้แก่ ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตาก เรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก                    
                                         กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว


    ขลู่  เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสูงประมาณ 0.5 - 2.5 เมตร ใบมีลักษณะค่อนข้างเรียบรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรและยาว 2.5-10 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านใบสั้นมาก เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ ใบมีกลิ่นหอมฉุน ช่อดอกงอกออกมาจากด้านบนและซอกของใบ กลีบดอกสีม่วง ส่วนของดอกสีม่วงหรือม่วงอ่อน ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกเป็นสันเหลี่ยม 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม เมล็ดมีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม




ขี้ครอก  จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขนาดประมาณ 2-8 ซม. X 2-8 ซม. ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ ก้านใบยาว 1-5 ซม. มีหูใบ 1 คู่ รูปรี กว้าง 0.1 ซม. ยาว 0.2 ซม. ดอก ออกเดี่ยวๆ เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.0 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผล ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ด รูปไตสีน้ำตาลขนาดประมาณ 2-2.5 มม. X 3-4 มม. มีพูละ 1 เมล็ด

ชื่ออื่นๆของขี้ครอก คือ ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล




ชุมเห็ดเทศ   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม.
ใบเป็นใบประกอบขนนก มีความยาวประมาณ 30-60 ซม. ใบย่อยจะเรีงกันเป็นคู่ ๆ 8-20 คู่ ลักษณะใบย่อยนั้นจะรูปขอบขนานแกมรูปรี โคนใบจะมน ตรงปลายใบของมันมนหรือเว้าเล็กน้อย ฐานใบนั้นจะมน และไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ขอบใบเรียบเป็นสีแดง ใบจะมีความกว้างประมาณ 5-7 ซม. และยาวประมาณ 5-15 ซม. ก้านใบย่อยสั้นมาก
ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 20-50 ซม. ดอกจะเป็นสีเหลือง ดอกตูมนั้นคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน สีเขียวตรงปลายของมันจะแหลม ส่วนก้านดอกนั้นจะสั้นและมีลายเส้นเห็นได้ชัด
เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 9-10 อัน แต่มีความยาวไม่เท่ากันอับเรณูเมื่อแก่จะมีรูเปิดที่ยอด ส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่1อันผิวเกลี้ยง
ผลนั้นจะออกฝัก แต่ไม่มีขน ฝักเป็นรูปบรรทัด หนา มีความกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. และยาวประมาณ 10-15 ซม. จะมีปีกอยู่ 4 ปีก มีความกว้างประมาณ 5-8 มม. และยาวประมาณ 7-10 มม.ผิวนอกนั้น จะขรุขระเป็นสีดำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


ปอบิด  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว อ่อนคล้ายเถา บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและมียางเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นใบสาก ท้องใบจะมีขน
กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว ยาว 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุกระหว่างต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ
มีกลีบรองกลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ผล มีลักษณะเป็น
ฝักยาว กลม บิดเป็นเกลีบวมีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาว 3-4 เซนติเมตร ออกผลประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ แก่เต็มที่ฝักจะอ้าออก


พุดทุ่ง หรืออาจเรียกว่า พุดน้ำ, ถั่วหนู, หัสคุณใหญ่, หัสคุณเทศ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5 ฟุต ลำต้นกลม ตั้งตรง เปลือกต้นของกิ่งก้าน และลำต้นมีสีน้ำตาลดำ ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลม เนื้อหนา ดอกเป็นช่อกลีบสีขาวหนา ผลเป็นฝักกลมยาว





มลุลี เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีดอกสีขาวคล้ายมะลิ มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน เลื้อยไกลราว 1-2 เมตร





มะจอเต๊ะ เป็นไม้พื้นเมืองที่พบอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดนราธิวาส จึงทำให้ชื่อเป็นในภาษายาวี ลักษณะเป็นไม้พุ่มอิงอาศัยเกาะตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้น กิ่งและใบ มีน้ำยางสีขาวขุ่น ผลแบบมะเดื่อออกตามซอกใบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือชนิดใบแคบ ที่ใบรูปขอบไข่กลับ ขนาดใบ กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร กับชนิดใบกว้าง ใบรูปไข่กลับกว้าง ๆ จนเกือบกลม ขนาดใบ กว้าง 4 – 7 เซนติเมตร ยาว 5 – 9 เซนติเมตร ทั้งสองพันธุ์ สามารถพบได้ในป่าในแถบจังหวัดนราธิวาส


รามใหญ่ มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา เหมือด อ้ายรามใบใหญ่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5 -3 เมตร ใบหนา ผิวเรียบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กิ่งอ่อนสีแดงอมน้ำตาล คนสมัยโบราณ มักคุ้นกับ "รามใหญ่" ในรูปที่นำใบ-ยอดมาปรุงอาหาร รวมทั้งเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก




อาเคเชีย  เป็นไม้สกุลของไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae ของวงศ์ถั่ว บันทึกเป็นครั้งแรกในแอฟริกาโดยนักชีววิทยาชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียส ในปี ค.ศ. 1773 มักจะเป็นไม้ที่มีหนามและฝัก ชื่อมาจากคำว่า ภาษากรีก “ακις” (อาคิส) ที่แปลว่าปลายแหลมเพราะเป็พืชที่มีหนามแหลมของสปีชีส์ “Acacia nilotica” (“อาเคเชียไนล์”) ของอียิปต์
ชื่ออื่นที่รู้จักคือ “ต้นหนาม” หรือ “ต้นวัตเติลส์” หรือ “อาเคเชียไข้เหลือง” และ “อาเคเชียร่ม”
อาเคเชียมีด้วยกัน 1300 สปีชีส์ทั่วโลก ในจำนวนนั้น 960 สปีชีส์อยู่ในออสเตรเลีย นอกจากนั้นก็อยู่ในบริเวณที่มีอากาศอุ่นของทั้งสองซีกโลกที่รวมทั้งยุโรป, แอฟริกา, เอเชียใต้ และ อเมริกา


ไม้คลุมดิน

ก้ามปูหลุด
กำแพงเงิน
กำมะหยี่ม่วง
คุณนายตื่นสาย
โครงเคลงเลื้อย
เงินไหลมา
ซิไซเดซี่
ดาดตะกั่ว
บัวดิน
บุษบาฮาวาย
ปริกน้ำค้าง
ปีกแมลงสาบ
พรมออสเตรเรีย
ปีปฝรั่ง
เปเปอร์โรเมีย
พรมกำมะหยี่
ผักเป็ด
ฟ้าประดิษฐ์
ฟิโลเดนตรอน
เฟิน
รางทอง
ว่านกาบหอยแครง
เวอร์บีน่า
แววมยุรา
หนวดปลาดุก
หลิวไต้หวัน
หัวใจสีม่วง
ดาดทับทิม
กระดุมทองเลื้อย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น