หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รู้ไหมว่า? โลมามี "ชื่อ" ไว้เรียกกัน


รู้ไหมว่า? โลมามี "ชื่อ" ไว้เรียกกัน


นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่า โลมาร้องเรียกตัวอื่นด้วย "ชื่อ" ที่เป็นเสียงผิวปากที่เจาะจงสำหรับโลมาแต่ละตัว ชี้อาจช่วยให้เข้าใจพัฒนาการสื่อสารในคนได้ 
       
       นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานแล้วว่า โลมาใช้วิธีผิวปากที่มีเอกลักษณ์ เพื่อแทน "ชื่อ" ในแบบที่มนุษย์ใช้เรียกขานกัน โดยทีมจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (University of St Andrews) ใสก็อตแลนด์ พบว่าเมื่อโลมาได้ยินเสียงผิวปากแบบเฉพาะของตัวเองจากตัวอื่นก็จะตอบสนองต่อเสียงเรียกนั้น
       
       บีบีซีนิวส์ระบุว่า สงสัยกันมานานแล้วว่า โลมาใช้วิธีผิวปากเรียกชื่อกัน และงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า การผิวปากดังกล่าวถูกใช้บ่อยมาก และโลมาในฝูงก็เรียนรู้ที่จะลอกเลียนเสียงที่มีลักษณะจำเพาะนั้น แต่การศึกษาของนักวิจัยากสก็อตแลนด์นี้เป็นครั้งแรกของการไขคำตอบว่า โลมาผิวปากเช่นนั้นเพื่อใช้แทนชื่อ
       
       เพื่อศึกษาเรื่องนี้ นักวิจัยได้บันทึกพฤติกรรมของโลมาปากขวดในธรรมชาติ เพื่อจับเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะดักล่าว จากนั้นปล่อยเสียงเรียกที่บันทึกไว้กลับไปด้วยลำโพงใต้น้ำ ซึ่งมีเสียงผิวปากของโลมากลุ่มอื่นด้วย แต่พบว่าโลมาจะส่งเสียงตอบกลับเฉพาะเสียงของตัวเองเท่านั้น พวกเขาเชื่อว่าเป็นการตอบสนองเหมือนที่คนเราถูกเรียกชื่อของตัวเอน
       
       ดร.วินเซนต์ ฌานิค (Dr.Vincent Janik) ผู้วิจัยจากหน่วยวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลของเซนต์แอนดรูวส์ กล่าวว่า โลมาอาศัยอยู่ไกลชายฝั่ง ซึ่งไม่มีจุดสังเกตใดๆ และพวกมันต้องอยู่เป็นกลุ่ม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบที่จะช่วยให้พวกมันอยู่รวมฝูงได้ และการผิกปากดังกล่าวน่าจะช่วยให้โลมาอยู่รวมฝูงได้อย่างเหนียวแน่นท่ามกลางผืนน้ำมหาศาล
       
       "เกือบตลอดเวลาที่พวกมันไม่อาจมองเห็นกัน และไม่สามารถใช้การดมกลิ่นกัน ซึ่งเป็นทักษะจำเป็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในการจำแนกกัน และพวกมันไม่มีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ใดนานๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีรังหรือรูให้พวกมันกลับไป" ดร.ฌานิคกล่าว
       
       นักวิจัยเชื่อว่าการศึกษานี้เป็นครั้งแรกที่พบการสื่อสารแบบนี้ในสัตว์ แม้ว่ามีการศึกษาอื่นที่บอกว่ามีนกแก้วบางสปีชีส์ที่อาจใช้เสียงเพื่อระบุนกตัวอื่นๆ ในกลุ่ม ซึ่ง ดร.ฌานิคให้ความเห็นว่า การเข้าใจว่าทักษะเหล่านี้มีวิวัฒนาการอย่างไร ในสัตว์หลายๆ กลุ่ม จะบอกเราได้มากว่าการสื่อสารในมนุษย์นั้นมีพัฒนาการมาอย่างไร
       
       การศึกษานี้เผยแพร่ในวารสารโพรซีดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอะคาเดมีออฟไซน์ส (Proceedings of the National Academy of Sciences)

ไขปริศนาความเร็ว "อูเซน โบลต์" นักวิ่งลมกรด


ไขปริศนาความเร็ว "อูเซน โบลต์" นักวิ่งลมกรด


   นักวิทยาศาสตร์ใช้คณิตศาสตร์ไขปริศนาความเร็วของ "อูเซน โบลต์" นักวิ่งลมกรด เผยถึงกำลังและพลังงานที่เขาใช้เอาขณะแรงดึงจากการต้านอากาศ จนทำความเร็วครองสถิติโลกมานานถึง 4 ปี 
       
       อูเซน โบลต์ (Usain Bolt) นักวิ่งฝีเท้าดีจากจาไมกา ทำสถิติวิ่ง 100 เมตรด้วยเวลา 9.58 วินาที ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เมื่อปี 2009 และเป็นสถิติโลกที่ยังไม่ถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามไขปริศนาความเร็วที่ไม่ธรรมดานี้ โดยใช้คณิตศาสตร์ช่วยหาคำตอบ
       
       ผลจากการศึกษาได้ตีพิมพ์ลงวารสารยูโรเปียนเจอร์นัลออฟฟิสิกส์ (European Journal of Physics) โดยบีบีซีนิวส์ได้อธิบายตามที่นักวิจัยระบุว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพวกเขาเผยว่า กำลังและพลังงานที่โบลต์ใช้เอาชนะแรงดึงจากการต้านอากาศนั้น ได้ส่วนเสริมจากรูปร่างสูงใหญ่ 6 ฟุต 5 นิ้วของเขา
       
       จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เผยว่าสถิติ 9.58 วินาทีที่เบอร์ลินนั้นเป็นผลจากความเร็วที่เขาทำได้ถึง 12.2 เมตรต่อวินาที โดยกำลังสูงสุดของโบลต์เกิดขึ้นหลังสาวเท้าวิ่งไม่ถึง 1 วินาที และขณะทำความเร็วอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นลัดหน้าผลกระทบจากแรงต้านอากาศไม่นาน
       
       นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่า พลังงานจากกล้ามเนื้อไม่ถึง 8% ถูกใช้เพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ส่วนที่เหลือถูกดึงโดยแรงต้านอากาศ และเมื่อเปรียบมวลร่างกาย ความสูงของลู่วิ่ง และอุณหภูมิอากาศแล้ว พวกเขาพบว่า สัมประสิทธิ์แรงต้าน (drag coefficient) หรือแรงต้านต่อหน่วยพื้นที่มวลของโบลต์นั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ชายทั่วไป
       
       จอร์จ เฮอร์นันเดซ (Jorge Hernandez) จากมหาวิทยาลัยปกครองตนเองแห่งเม็กซิโก (National Autonomous University of Mexico) กล่าวถึงงานวิจัยดังกล่าวว่าการคำนวณสัมประสิทธิ์แรงต้านของพวกเขาเน้นให้เห็นความสามารถอันโดดเด่นของโบลต์ ซึ่งสามารถทำลายสถิติได้หลายครั้ง
       
       งานในความหมายทางฟิสิกส์ปริมาณมหาศาลที่โบลต์สร้างขึ้นในการแข่งขันเมื่อปี 2009 และงานปริมาณมากที่ถูกดูดกลืนไปกับแรงดึงนั้น เป็นสิ่งที่เฮอร์นันเดซมองว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องยากที่ใครก็ตามจะทำลายสถิตได้ในตอนนี้ แม้เร็วกว่าเพียง 0.01 วินาทียังเรื่องยาก
       
       "เนื่องจากนักวิ่งต้องแสดงพลังมหาศาลเพื่อต้านแรงมากมาย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างใหญ่โตในทุกความเร็วที่นักวิ่งสามารถเพิ่มขึ้นได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะการกีดกันในทางกายภาพ ที่กำหนดโดยสภาพบนโลก หากเขาไปวิ่งบนดาวเคราะห์อื่นที่มีความหนาแน่นของบรรยากาศน้อยกว่า เขาก็อาจสร้างสถิติที่น่าตื่นตากว่าอยู่แล้ว" เฮอร์นันเดซกล่าว
       
       การบันทึกข้อมูลตำแหน่งและความเร็วที่แม่นยำของโบลต์ทำให้ทีมวิจัยมีโอกาสที่ดีในการศึกษาประสิทธิภาพของแรงดึงจากอากาศที่กระทำต่อนักวิ่งระยะสั่้น แต่ถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้ในอนาคต เฮอร์นันเดซระบุว่า จะช่วยให้เราจำแนกนักวิ่งที่โดดเด่นได้ดีขึ้น
       
       ด้าน จอห์น บาร์โรว์ (John Barrow) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) อังกฤษ ซึ่งเคยมีงานศึกษาก่อนหน้านี้ว่าโบลต์กลายเป็นนักวิ่งที่เร็วขนาดนั้นได้อย่างไร อธิบายว่าความเร็วของบาร์โรว์มาจากก้าววิ่งที่กว้างเป็นพิเศษ และเขายังมีเส้นใยกล้ามเนื้อจำนวนมากที่ตอบสนองต่อความเร็วอย่างทันที เมื่อรวมสองปัจจัยดังกล่าวทำให้เขามีความเร็วที่ไม่ธรรมดา

หลับไม่สนิท...ผลพวงอาจมาจาก “พระจันทร์เต็มดวง”


หลับไม่สนิท...ผลพวงอาจมาจาก “พระจันทร์เต็มดวง”


 มีคำร่ำลือเกี่ยวกับผลพวงจาก “พระจันทร์เต็มดวง” มากมายเกี่ยวกับการกระตุ้นความก้าวร้าวของคน แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัด ยกเว้นงานวิจัยล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นหลักฐานแรกที่เชื่อถือได้ว่าอิทธิพลของดวงจันทร์นั้นส่งผลกระทบให้มนุษย์นอนหลับไม่สนิท 
       
       พระจันทร์ในภาษาลาตินคือ “ลูนา” (Luna) ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก “ลูนาติก” (lunatic) ที่หมายถึงคนวิกลจริต ทว่านักวิจัยได้ทดลองให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ดวงจันทร์ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ อ้างตามรายงานของไลฟ์ไซน์ ซึ่งระบุอีกว่ามีการศึกษาจำนวนน้อยที่พบความเชื่อมโยงอันไม่มีน้ำหนักนัก เกี่ยวกับความก้าวร้าวรุนแรงที่เพิ่มขึ้น โดยการ    ศึกษาเมื่อปี 2010 พบว่าไม่ได้มีอาชญากรรมรุนแรงเพิ่มขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวง
       
       อย่างไรก็ดี คริสเตียน คาโจเคน (Christian Cajochen) นักชีววิยาลำดับเวลาและนักวิจัยด้านการนอนจากโรงพยาบาลบำบัดจิตเวชแห่งมหาวิยาลัยบาเซล (University of Basel) ในสวิตเซอร์แลนด์ เกิดความสงสัยในเรื่องที่มีคนบ่นเกี่ยวกับการนอนหลับไม่สนิทไม่ในช่วงคืนพระจันทร์เต็มดวง  
       
       คาโจเคนและเพื่อนร่วมงานได้ร่วมกันเตรียมห้องปฏิบัติการที่พร้อมสำหรับศึกษาการนอนหลับ ซึ่งผลการศึกษาของพวกเขาอาจแสดงถึงหลักฐานว่าดวงจันทร์ส่งผลกระทบต่อคนได้ เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์พบว่าวัฏจักรของดวงจันทร์นั้นน่าจะมีอิทธิพลต่อการนอนหลับของคน แม้ว่าคนๆ นั้นจะไม่ได้เห็นดวงจันทร์หรือทราบถึงปรากฏการณืข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์ก็ตาม
       
       ตลอดเวลา 4 ปีของการศึกษาเรื่องดังกล่าว ทีมวิจัยได้เฝ้าสังเกตปฏิกิริยาในสมอง การเคลื่อนไหวของดวงตา และการหลั่งฮอร์โมนในกลุ่มอาสาสมัคร 33 คนในห้องปฏิบัติการขณะที่อาสาสมัครกำลังหลับใหล โดยผู้เข้ารับการทดลองต่างเป็นผู้มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาการนอนหลับ และไม่เคยใช้ยาเสพติดหรือรับยารักษาโรคใดๆ
       
       หลังศึกษาข้อมูลของอาสาสมัครแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่าในช่วงพระจันทร์เต็มดวงนั้น ปฏิกิริยาในสมองที่มีความสัมพันธ์กับการหลับลึกได้ลดลง 30% และอาสาสมัครต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยนานขึ้น 5 นาที ก่อนหลับใหล และนอนหลับได้น้อยลง 20 นาทีตลอดคืนพระจันทร์เต็มดวง อาสาสมัครยังมีระดับ “เมลาโทนิน” (melatonin) ฮอร์โมนที่ควบคุมการหลับและการตื่นลดลงด้วย
       
       ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินมากขึ้นเมื่อยิ่งมืด และจะหลั่งน้อยลงเมื่อมีแสงสว่างรบกวน หากแต่รายงานของบีบีซีนิวส์อธิบายถึงการทดลองว่า อาสาสมัครไม่ล่วงรู้ถึงจุดหมายของการทดลอง และระหว่างเข้านอนพวกเขาก็ไม่ได้รับแสงจันทร์ด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อสรุปจากการศึกษาว่า แม้ไม่เห็นแสงจันทร์แต่คาบการเกิดข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ก็ส่งผลต่อการนอน
       
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยไม่ได้เตรียมห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาผลกระทบจากดวงจันทร์มาตั้งแต่ต้น แต่ได้ความคิดดังกล่าวจากการคุยกันระหว่างดื่มในผับแห่งหนึ่งช่วงพระจันทร์เต็มดวงพอดี แล้วเกิดแนวคิดดังกล่าวขึ้น จึงได้ศึกษาข้อมูลเก่าๆ เกี่ยวกับการนอนหลับของอาสาสมัครดูว่าปัญหาการนอนระหว่างพระจันทร์เต็มดวงหรือไม่
       
       คาโจเคนให้ความเห็นแก่ไลฟ์ไซน์ว่า เขาใช้เวลานานกว่า 4 ปีกว่าจะตัดสินใจตีพิมพ์การค้นพบของเขา เพราะเขาเองก็ไม่เชื่อในผลที่ได้ และมีความสงสัยต่อสิ่งที่ค้นพบ จึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้อื่นร่วมตรวจสอบการค้นพบนี้ด้วยการทดลองซ้ำ