หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เกาะราชาใหญ่


เกาะราชาใหญ่



ชมปะการังแสนสวย

เกาะราชาใหญ่เป็นเกาะที่มี่ความสวยงาม นอกจากแนวปะการังน้ำตื้นแล้ว ยังมีหาดทรายขาวสะอาด และบรรยากาศที่เงียบสงบเป็นธรรมชาติ


ที่ตั้งและการเดินทาง
อยู่ตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ระยะทางประมาณ 15 กม. เหมาเรือจากอ่าวฉลองหรือหาดราไวย์ไปขึ้นที่หาดตะวันตก เกาะราชาใหญ่





สิ่งน่าสนใจ

เกาะราชาใหญ่มีหาดทรายให้เล่นน้ำได้หลายหาด หาดทรายด้านหน้าคือหาดตะวันตกเป็นหาดโค้งยาว
น้ำตื้น เล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมมานอนอาบแดดกันมาก ปลายสุดของหาดมีจุดชมวิว สามารถเดินไปชมทิวทัศน์มุมสูงของเกาะได้ จากหาดตะวันตกมีทางเดินไปด้านหลังเกาะ ซึ่งมีหาดอีกสองแห่งคือ อ่าวสยามและอ่าวขอนแค เป็นจุดดำน้ำตื้นของเกาะราชาใหญ่ มีปะการังหลายชนิด ได้แก่ ปะการังกิ่ง ปะการังจาน และปะการังพุ่ม ส่วนปลาที่พบส่วนใหญ่เป็นปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาผีเสื้อ ปลาเก๋า เป็นต้น

Cr.http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phuket/ustasit_k/place-sea/racha.html

แหลมพรหมเทพ


แหลมพรหมเทพ


จุดชมพระอาทิตย์ตกที่เลื่องชื่อในความงาม

แหลมพรหมเทพเดิมชื่อว่าแหลมเจ้า เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามเลื่องชื่อของภูเก็ต เมื่อได้เวลาใกล้พระอาทิตย์ตก ที่นี่จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน

ที่ตั้งและการเดินทาง อยู่ทางใต้สุดของเกาะภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองประมาณ 19 กม. จากห้าแยกฉลองตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 4024 ผ่านหาดราไวย์และหาดในยะ จากนั้นตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 4233 อีกประมาณ 650 กม. ก็ถึงลานจอดรถของแหลมพรหมเทพ ต้องเดินขึ้นบันไดไปบนเนินสูงเพื่อไปจุดชมวิว ถ้าต้องการชมทิวทัศน์ที่ปลายแหลมพรหมเทพ ต้องเดินต่อไปตามทางเดินอีกประมาณ 1 กม.เศษ หรือจะชมบริเวณลานประภาคารก็ได้

สิ่งน่าสนใจ

จุดชมทิวทัศน์

สอบถามเวลาพระอาทิตย์ตกได้ที่สถานีอุตุนิยมวิทยาภูเก็ต โทร 0-7621-1494 ในเวลาราชการ หรือดูป้าย
บอกเวลาของกรมอุทกศาสตร์ที่ลานประภาคาร
                เหตุที่แหลมพรมเทพเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกยอดนิยมเนื่องจากเป็นจุดที่สวยงามและเห็นพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจนที่สุดด้วยลักษณะภูมิศาสตร์เป็นแหลมสูงชันทอดยาวไปในทะเล จึงมองเห็นทัศนียภาพเป็นมุมเปิดกว้าง ด้านหน้าคือเกาะแก้วน้อยและเกาะแก้วใหญ่ ด้านขวาเป็นหาดในหานและเกาะมัน ส่วนด้านซ้ายจะมองเห็นหาดในยะซึ่งเป็นหาดเล็ก ๆ เมื่อยืนอยู่บนแหลมพรหมเทพจะมองเห็นเวิ้งทะเลกว้างไกล ในวันที่ท้องฟ้าเปิดปราศจากเมฆ ภาพพระอาทิตย์สีส้มลอยลับลงไปในผืนน้ำ สาดแสงให้ริ้วคลื่นกลายเป็นสีเหลืองทองงามจับใจจะประทับอยู่ในความทรงจำของหลาย ๆ คนจนต้องย้อนกลับมาที่นี่อีกครั้ง

รอบแหลมพรหมเทพเป็นโขดหินใหญ่ เห็นคลื่นชัดแตกกระเซ็นเป็นฟองสีขาว สามารถตกปลาได้ แต่ต้องระมัดระวังพอสมควรไม่ยืนบนโขดหินหรือใกล้น้ำ เพราะอาจได้รับอันตรายจากคลื่นและลมแรงได้

ประภาคารกาญจนาภิเษก

เป็นประภาคารที่กองทัพเรือและชาวภูเก็ตร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องใจปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เนื่องจากชาวภูเก็ตเป็นศูนย์กลางจองการคมนาคมทางทะเลอันดามัน ประภาคารแห่งนี้สูง 50 ฟุต ตรงกับวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

ภายในอาคารด้านล่างจัดเป็นนิทรรศการให้ความรู้เรื่องกระโจมไฟและประภาคาร แสดงแบบจำลองของประภาคารและกระโจมไฟที่สำคัญ เช่น กระโจมไฟชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประภาคารอัษฎางค์ ประภาคารตากใบ ฯลฯ  มีป้ายบรรยายประวัติความเป็นมาของประภาคารและกระโจมไฟ ตัวอย่างเครื่องวาบหรือไฟวับวาบตะเกียงน้ำมันที่ใช้ในกระโจมไฟ ตะเกียงไฟฟ้าแบบต่าง ๆ ฯลฯ

นอกจากนิทรรศการชั่นล่างแล้ว มีบันไดเวียนขึ้นไปชั้นบนของประภาคาร ซึ่งจัดแสดงเรือหลวงจำลอง พร้อมประวัติของเรือแต่ละลำ เช่น เรือหลวงศุกร์ เรือหลวงสุริยะ หรือหลวงจันทร ฯลฯ และสามารถเดินออกไปชมทิวทัศน์บนดาดฟ้าของประภาคารได้ด้วย

Cr.http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phuket/ustasit_k/place-sea/promthep.html.html

หาดป่าตอง


หาดป่าตอง


เที่ยวหาดสวยที่สุดของภูเก็ต

หาดป่าตองเป็นหาดที่สวยที่สุดในภูเก็ตและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกจนกล่าวได้ว่าเมื่อเอ่ยถึงทะเลภูเก็ต หลายคนมักนึกถึงหาดป่าตองเป็นแห่งแรก ความงามของป่าตองทำให้ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมุ่งมาเยือนหาดแห่งนี้ นอกจากเสน่ห์ของหาดทรายขาวและน้ำทะเลสีฟ้าใสแล้ว ป่าตองยังพรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกนานัปการ เป็นศูนย์รวมของธุรกิจและความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ บริการนำเที่ยว นั่งช้าง เดินป่า พายเรือแคนู เที่ยวเกาะ มีร้านตดปลาและดำน้ำนับสิบร้าน ตลอดจนช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของที่ระลึกมากมาย จนกล่าวได้ว่าทุกสรรพสิ่งที่นักท่องเที่ยวปรารถนา ถามหาได้ที่ป่าตอง

ที่ตั้งและการเดินทาง : ตั้งอยู่ในอ.กะทู้ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 15 กม.

รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 4020 ผ่านสี่แยกไทนานและแยกเก็ตโฮ่ ทรงไปทาง อ.กะทู้ผ่านที่ว่าการ อ.กะทู้ ตรงไปจนถึงสี่แยกสี่กอ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4029 ไปประมาณ 3.5 กม. ผ่านวัดสุวรรณคีรีวงศ์ตรงสามแยก ให้ตรงไปตาม ถ.พระบารมีอีก 1 กม.เศษ จะพบกับทางหลวงหมายเลข 4233 หรือ ถ.ทวีวงศ์ซึ่งเป็นถนนเลียบหาด ให้เลี้ยวซ้ายไปหาดป่าตอง

รถสองแถว นั่งรถสายภูเก็ต-หาดป่าตอง ค่ารถ 15 บาท

ประวัติ หาดป่าตองในอดีตเป็นหาดที่คนทั่วไปไม่รู้จัก นอกจากกลุ่มฮิปปี้ที่รักธรรมชาติและความสงบ เนื่องจากหาดอยู่หลังเขาสูงชัน เดินทางไปยากลำบาก มีเพียงชาวเลอาศัยอยู่ และเรียกหาดแห่งนี้ว่า กรากอตอ หมายถึงช่องเขากำแพงซึ่งขวางกั้นระหว่างตัว อ. กะทู้กับชายหาด ช่องเขานี้สามารถเดินทะลุมายังชายหาดบริเวณนี้ได้ เมื่อเวลาผ่านไป คนจึงเรียกเพี้ยนไปจากเดิมเป็นกรากระตอน แล้วกลายเป็นหาดป่าตองในที่สุด หลังจาดมีการตัด ถ.พระบารมีในปี พ.ศ. 2502 ทำให้การเดินทางไปหาดป่าตองสะดวกยิ่งขึ้น นับเป็นการเปิดโลกการท่องเที่ยวของหาดป่าตองให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว

สิ่งน่าสนใจ

ทะเลและหาดทราย หาดป่าตองตั้งอยู่ด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากถูกแรงคลื่นลมกัดเซาะ ทำให้ชายฝั่งเว้าลึกเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว มีความยาวเกือบ 3 กม. เป็นทัศนียภาพที่สวยงามเมื่อยืนอยู่ริมหาด จึงมองเห็นหาดทรายสีขาวสะอาดทอดตัวยาวออกไปสุดสายตา และน้ำทะเลที่เปลี่ยนสีต่างกันไป บางฤดูกาลอาจเป็นสีเขียวมรกต สีน้ำเงินหรือครามเข้ม ตัดกับสีขาวนวลของเม็ดทราย เหมือนธรรมชาติเปลี่ยนฉากต่างกันไปในแต่ละวัน ดูเพลิดเพลินไม่รู้เบื่อ

ชายหาดกว้างขวาง เต็มไปด้วยร่มหลากสี มีนักท่องเที่ยวนอนอาบแดดเรียงราย ท่ามกลางเสียงคลื่นขับกล่อมและลมทะเลที่พัดเอื่อยๆในช่วงเช้าหรือเย็น เป็นเวลาที่เหมาะจะลงเล่นน้ำ เพราะชายหาดไม่ร้อนเกินไปนัก หาดป่าตองยังมีลักษณะพิเศษ คือชายหาดโอบล้อมด้วยภูเขาเป็นแนวยาวปิดหัวท้ายของหาด ช่วยกำยังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี บริเวณหน้าหาดน้ำตื้น จึงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย หน้าหาดยังมีกิจกรรมและกีฬาทางน้ำหลายชนิดให้เลือกสนุก ไม่ว่าจะเป็นบานาน่าโบ๊ต พาราเซล วินเซิร์ฟ หรือเจ็ตสกี หากชอบดำน้ำ บริเวณแหลมหัวและท้ายหาดยังมีปะการังเป็นแนวกว้างเป็นจุดดำน้ำตื้นที่ชมความงามของโลกใต้ทะเลได้ แม้ว่าในอดีตปะการังในแถบนี้จะหักพังไปบ้าง แต่ปัจจุบันเริ่มฟื้นตัวจนมีสภาพปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นปะการังจาน ปะการังกิ่ง และปะการังโขด มีฝูงปลากะพงมาว่ายเวียนให้ชมเป็นประจำ

ตกเย็นจะไปเดินเล่นชมบรรยากาศริมหาดก็รื่นรมย์ไม่น้อยหากเดินเรียบหาดป่าตองไปทางด้านเหนือจะถึงหาดกะหลิมซึ่งเป็นหาดเล็กๆ ติดกับหาดป่าตอง ชายหาดเต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ เป็นมุมที่ดูสวยแปลกตาไปอีกแบบ บรรยากาศค่อนข้างเงียบสงบเป็นส่วนตัว
ป่าตองจะเป็นที่เที่ยว ที่มีหลายมิติหลากรสชาติ สุดแต่ว่าจะเลือกเที่ยวแบบไทย หรือแบบฝรั่ง แม้ว่าเหนือหาด จะเต็มไปด้วยย่านธุรกิจและการค้า ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามความเจริญที่หลั่งไหลเข้ามา  แต่ชายหาดและทะเลที่ป่าตอง ยังคงความงาม และบันดาลความสุขให้แก่นักท่องเที่ยวคนแล้วคนเล่า โดยมิแปรเปลี่ยน

Cr.www.thaigoodview.com/library/teachershow/phuket/ustasit_k/place-sea/patong.html

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หินตา - หินยาย


หินตา - หินยาย


  พูดถึงเกาะสมุย นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีมากมายแล้ว ยังมีสถานที่แห่งหนึ่งบนเกาะที่ทุกคนอยากมาดูให้เห็นกับตา ในความมหัศจรรย์ของธรรมชาติจากการสร้างสรรค์ของลมและน้ำ จนกล่าวได้ว่าหากใครไม่ได้มาดูถือว่าไม่ได้ถือว่ามาไม่ถึงเกาะสมุย คือ "หินตา หินยาย" หินตาหินยายอยู่ที่อ่าวละไม ตำบลมะเร็ด ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะสมุยไปทางทิศตะวันออกประมาณ 17 กิโลเมตร ห่างจากหาดเฉวงประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นปรากฏการณ์ธรรมชิตของหินแกรนิต ที่เกิดจากการกัดเซาะโดยน้ำทะเล สายลม และแสงแดด จนเกิดเป็นโขดหินรูปร่างประหลาด ลักษณะคล้ายอวัยวะเพศของชายและหญิงอยู่เคียงคู่กัน ตำนานท้องถิ่นเล่าต่อๆกันมาว่า นานมาแล้วมีตายายคู่หนึ่ง ชื่อตาเครงและยายเรียม เป็นชาวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางโดยเรือใบเพื่อจะไปสู่ขอลูกสาวของตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้กับลูกชายชื่อคง โดยมีนายท้ายเรือ คือนายปราบเพื่อนของลูกชาย ครั้งเรื่อแล่นมาถึงบริเวณแหลมละไม เกิดพายุใหญ่ทำให้เรือล่ม สินสอดทองหมั้นที่เตรียมมาจมน้ำหายไปจนสิ้น ส่วนญาติสนิทมิตรสหายที่เดินทางมาร่วมกัน จมน้ำเสียชีวิตกลายเป็นเกาะเล็กเกาะน้อย รายรอบเกาะสมุย หลายๆคนถูกน้ำพัดไปกลายเป็นหมู่เกาะอ่างทอง นายคงถูกน้ำซัดไปทางหาดเชิงมนเสียชีวิตกลายเป็นเกาะกง ด้านนายปราบนั้นเกาะเรือสำเภาของตัวเองลอยไปทางอ่าวบ้านดอน จนก่อนจะเข้าอ่าวบ้านดอนเรือสำเภาจมลงจนกลายเกาะนกเภา ส่วนนายปราบนั้นเสียชีวิตกลายเป็นเกาะปราบ อยู่บริเวณอ่านบ้านดอนนั้นเอง คงเหลือรอดชีวิตแค่ตาเครงและยายเรียม ถูกน้ำทะเลพัดเข้าหาดละไม ทั้งตาและยายเสียใจมาก และกลัวว่าตาม่องล่ายจะคิดว่าเป็นคนไม่รักษาคำพูด จึงพากันกลั้นใจกระโดดน้ำตาย กลายเป็นหินตาหินยายทุกวันนี้

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รู้ไหมว่า? โลมามี "ชื่อ" ไว้เรียกกัน


รู้ไหมว่า? โลมามี "ชื่อ" ไว้เรียกกัน


นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่า โลมาร้องเรียกตัวอื่นด้วย "ชื่อ" ที่เป็นเสียงผิวปากที่เจาะจงสำหรับโลมาแต่ละตัว ชี้อาจช่วยให้เข้าใจพัฒนาการสื่อสารในคนได้ 
       
       นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานแล้วว่า โลมาใช้วิธีผิวปากที่มีเอกลักษณ์ เพื่อแทน "ชื่อ" ในแบบที่มนุษย์ใช้เรียกขานกัน โดยทีมจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (University of St Andrews) ใสก็อตแลนด์ พบว่าเมื่อโลมาได้ยินเสียงผิวปากแบบเฉพาะของตัวเองจากตัวอื่นก็จะตอบสนองต่อเสียงเรียกนั้น
       
       บีบีซีนิวส์ระบุว่า สงสัยกันมานานแล้วว่า โลมาใช้วิธีผิวปากเรียกชื่อกัน และงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า การผิวปากดังกล่าวถูกใช้บ่อยมาก และโลมาในฝูงก็เรียนรู้ที่จะลอกเลียนเสียงที่มีลักษณะจำเพาะนั้น แต่การศึกษาของนักวิจัยากสก็อตแลนด์นี้เป็นครั้งแรกของการไขคำตอบว่า โลมาผิวปากเช่นนั้นเพื่อใช้แทนชื่อ
       
       เพื่อศึกษาเรื่องนี้ นักวิจัยได้บันทึกพฤติกรรมของโลมาปากขวดในธรรมชาติ เพื่อจับเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะดักล่าว จากนั้นปล่อยเสียงเรียกที่บันทึกไว้กลับไปด้วยลำโพงใต้น้ำ ซึ่งมีเสียงผิวปากของโลมากลุ่มอื่นด้วย แต่พบว่าโลมาจะส่งเสียงตอบกลับเฉพาะเสียงของตัวเองเท่านั้น พวกเขาเชื่อว่าเป็นการตอบสนองเหมือนที่คนเราถูกเรียกชื่อของตัวเอน
       
       ดร.วินเซนต์ ฌานิค (Dr.Vincent Janik) ผู้วิจัยจากหน่วยวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลของเซนต์แอนดรูวส์ กล่าวว่า โลมาอาศัยอยู่ไกลชายฝั่ง ซึ่งไม่มีจุดสังเกตใดๆ และพวกมันต้องอยู่เป็นกลุ่ม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบที่จะช่วยให้พวกมันอยู่รวมฝูงได้ และการผิกปากดังกล่าวน่าจะช่วยให้โลมาอยู่รวมฝูงได้อย่างเหนียวแน่นท่ามกลางผืนน้ำมหาศาล
       
       "เกือบตลอดเวลาที่พวกมันไม่อาจมองเห็นกัน และไม่สามารถใช้การดมกลิ่นกัน ซึ่งเป็นทักษะจำเป็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในการจำแนกกัน และพวกมันไม่มีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ใดนานๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีรังหรือรูให้พวกมันกลับไป" ดร.ฌานิคกล่าว
       
       นักวิจัยเชื่อว่าการศึกษานี้เป็นครั้งแรกที่พบการสื่อสารแบบนี้ในสัตว์ แม้ว่ามีการศึกษาอื่นที่บอกว่ามีนกแก้วบางสปีชีส์ที่อาจใช้เสียงเพื่อระบุนกตัวอื่นๆ ในกลุ่ม ซึ่ง ดร.ฌานิคให้ความเห็นว่า การเข้าใจว่าทักษะเหล่านี้มีวิวัฒนาการอย่างไร ในสัตว์หลายๆ กลุ่ม จะบอกเราได้มากว่าการสื่อสารในมนุษย์นั้นมีพัฒนาการมาอย่างไร
       
       การศึกษานี้เผยแพร่ในวารสารโพรซีดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอะคาเดมีออฟไซน์ส (Proceedings of the National Academy of Sciences)

ไขปริศนาความเร็ว "อูเซน โบลต์" นักวิ่งลมกรด


ไขปริศนาความเร็ว "อูเซน โบลต์" นักวิ่งลมกรด


   นักวิทยาศาสตร์ใช้คณิตศาสตร์ไขปริศนาความเร็วของ "อูเซน โบลต์" นักวิ่งลมกรด เผยถึงกำลังและพลังงานที่เขาใช้เอาขณะแรงดึงจากการต้านอากาศ จนทำความเร็วครองสถิติโลกมานานถึง 4 ปี 
       
       อูเซน โบลต์ (Usain Bolt) นักวิ่งฝีเท้าดีจากจาไมกา ทำสถิติวิ่ง 100 เมตรด้วยเวลา 9.58 วินาที ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เมื่อปี 2009 และเป็นสถิติโลกที่ยังไม่ถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามไขปริศนาความเร็วที่ไม่ธรรมดานี้ โดยใช้คณิตศาสตร์ช่วยหาคำตอบ
       
       ผลจากการศึกษาได้ตีพิมพ์ลงวารสารยูโรเปียนเจอร์นัลออฟฟิสิกส์ (European Journal of Physics) โดยบีบีซีนิวส์ได้อธิบายตามที่นักวิจัยระบุว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพวกเขาเผยว่า กำลังและพลังงานที่โบลต์ใช้เอาชนะแรงดึงจากการต้านอากาศนั้น ได้ส่วนเสริมจากรูปร่างสูงใหญ่ 6 ฟุต 5 นิ้วของเขา
       
       จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เผยว่าสถิติ 9.58 วินาทีที่เบอร์ลินนั้นเป็นผลจากความเร็วที่เขาทำได้ถึง 12.2 เมตรต่อวินาที โดยกำลังสูงสุดของโบลต์เกิดขึ้นหลังสาวเท้าวิ่งไม่ถึง 1 วินาที และขณะทำความเร็วอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นลัดหน้าผลกระทบจากแรงต้านอากาศไม่นาน
       
       นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่า พลังงานจากกล้ามเนื้อไม่ถึง 8% ถูกใช้เพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ส่วนที่เหลือถูกดึงโดยแรงต้านอากาศ และเมื่อเปรียบมวลร่างกาย ความสูงของลู่วิ่ง และอุณหภูมิอากาศแล้ว พวกเขาพบว่า สัมประสิทธิ์แรงต้าน (drag coefficient) หรือแรงต้านต่อหน่วยพื้นที่มวลของโบลต์นั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ชายทั่วไป
       
       จอร์จ เฮอร์นันเดซ (Jorge Hernandez) จากมหาวิทยาลัยปกครองตนเองแห่งเม็กซิโก (National Autonomous University of Mexico) กล่าวถึงงานวิจัยดังกล่าวว่าการคำนวณสัมประสิทธิ์แรงต้านของพวกเขาเน้นให้เห็นความสามารถอันโดดเด่นของโบลต์ ซึ่งสามารถทำลายสถิติได้หลายครั้ง
       
       งานในความหมายทางฟิสิกส์ปริมาณมหาศาลที่โบลต์สร้างขึ้นในการแข่งขันเมื่อปี 2009 และงานปริมาณมากที่ถูกดูดกลืนไปกับแรงดึงนั้น เป็นสิ่งที่เฮอร์นันเดซมองว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องยากที่ใครก็ตามจะทำลายสถิตได้ในตอนนี้ แม้เร็วกว่าเพียง 0.01 วินาทียังเรื่องยาก
       
       "เนื่องจากนักวิ่งต้องแสดงพลังมหาศาลเพื่อต้านแรงมากมาย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างใหญ่โตในทุกความเร็วที่นักวิ่งสามารถเพิ่มขึ้นได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะการกีดกันในทางกายภาพ ที่กำหนดโดยสภาพบนโลก หากเขาไปวิ่งบนดาวเคราะห์อื่นที่มีความหนาแน่นของบรรยากาศน้อยกว่า เขาก็อาจสร้างสถิติที่น่าตื่นตากว่าอยู่แล้ว" เฮอร์นันเดซกล่าว
       
       การบันทึกข้อมูลตำแหน่งและความเร็วที่แม่นยำของโบลต์ทำให้ทีมวิจัยมีโอกาสที่ดีในการศึกษาประสิทธิภาพของแรงดึงจากอากาศที่กระทำต่อนักวิ่งระยะสั่้น แต่ถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้ในอนาคต เฮอร์นันเดซระบุว่า จะช่วยให้เราจำแนกนักวิ่งที่โดดเด่นได้ดีขึ้น
       
       ด้าน จอห์น บาร์โรว์ (John Barrow) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) อังกฤษ ซึ่งเคยมีงานศึกษาก่อนหน้านี้ว่าโบลต์กลายเป็นนักวิ่งที่เร็วขนาดนั้นได้อย่างไร อธิบายว่าความเร็วของบาร์โรว์มาจากก้าววิ่งที่กว้างเป็นพิเศษ และเขายังมีเส้นใยกล้ามเนื้อจำนวนมากที่ตอบสนองต่อความเร็วอย่างทันที เมื่อรวมสองปัจจัยดังกล่าวทำให้เขามีความเร็วที่ไม่ธรรมดา

หลับไม่สนิท...ผลพวงอาจมาจาก “พระจันทร์เต็มดวง”


หลับไม่สนิท...ผลพวงอาจมาจาก “พระจันทร์เต็มดวง”


 มีคำร่ำลือเกี่ยวกับผลพวงจาก “พระจันทร์เต็มดวง” มากมายเกี่ยวกับการกระตุ้นความก้าวร้าวของคน แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัด ยกเว้นงานวิจัยล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นหลักฐานแรกที่เชื่อถือได้ว่าอิทธิพลของดวงจันทร์นั้นส่งผลกระทบให้มนุษย์นอนหลับไม่สนิท 
       
       พระจันทร์ในภาษาลาตินคือ “ลูนา” (Luna) ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก “ลูนาติก” (lunatic) ที่หมายถึงคนวิกลจริต ทว่านักวิจัยได้ทดลองให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ดวงจันทร์ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ อ้างตามรายงานของไลฟ์ไซน์ ซึ่งระบุอีกว่ามีการศึกษาจำนวนน้อยที่พบความเชื่อมโยงอันไม่มีน้ำหนักนัก เกี่ยวกับความก้าวร้าวรุนแรงที่เพิ่มขึ้น โดยการ    ศึกษาเมื่อปี 2010 พบว่าไม่ได้มีอาชญากรรมรุนแรงเพิ่มขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวง
       
       อย่างไรก็ดี คริสเตียน คาโจเคน (Christian Cajochen) นักชีววิยาลำดับเวลาและนักวิจัยด้านการนอนจากโรงพยาบาลบำบัดจิตเวชแห่งมหาวิยาลัยบาเซล (University of Basel) ในสวิตเซอร์แลนด์ เกิดความสงสัยในเรื่องที่มีคนบ่นเกี่ยวกับการนอนหลับไม่สนิทไม่ในช่วงคืนพระจันทร์เต็มดวง  
       
       คาโจเคนและเพื่อนร่วมงานได้ร่วมกันเตรียมห้องปฏิบัติการที่พร้อมสำหรับศึกษาการนอนหลับ ซึ่งผลการศึกษาของพวกเขาอาจแสดงถึงหลักฐานว่าดวงจันทร์ส่งผลกระทบต่อคนได้ เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์พบว่าวัฏจักรของดวงจันทร์นั้นน่าจะมีอิทธิพลต่อการนอนหลับของคน แม้ว่าคนๆ นั้นจะไม่ได้เห็นดวงจันทร์หรือทราบถึงปรากฏการณืข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์ก็ตาม
       
       ตลอดเวลา 4 ปีของการศึกษาเรื่องดังกล่าว ทีมวิจัยได้เฝ้าสังเกตปฏิกิริยาในสมอง การเคลื่อนไหวของดวงตา และการหลั่งฮอร์โมนในกลุ่มอาสาสมัคร 33 คนในห้องปฏิบัติการขณะที่อาสาสมัครกำลังหลับใหล โดยผู้เข้ารับการทดลองต่างเป็นผู้มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาการนอนหลับ และไม่เคยใช้ยาเสพติดหรือรับยารักษาโรคใดๆ
       
       หลังศึกษาข้อมูลของอาสาสมัครแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่าในช่วงพระจันทร์เต็มดวงนั้น ปฏิกิริยาในสมองที่มีความสัมพันธ์กับการหลับลึกได้ลดลง 30% และอาสาสมัครต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยนานขึ้น 5 นาที ก่อนหลับใหล และนอนหลับได้น้อยลง 20 นาทีตลอดคืนพระจันทร์เต็มดวง อาสาสมัครยังมีระดับ “เมลาโทนิน” (melatonin) ฮอร์โมนที่ควบคุมการหลับและการตื่นลดลงด้วย
       
       ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินมากขึ้นเมื่อยิ่งมืด และจะหลั่งน้อยลงเมื่อมีแสงสว่างรบกวน หากแต่รายงานของบีบีซีนิวส์อธิบายถึงการทดลองว่า อาสาสมัครไม่ล่วงรู้ถึงจุดหมายของการทดลอง และระหว่างเข้านอนพวกเขาก็ไม่ได้รับแสงจันทร์ด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อสรุปจากการศึกษาว่า แม้ไม่เห็นแสงจันทร์แต่คาบการเกิดข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ก็ส่งผลต่อการนอน
       
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยไม่ได้เตรียมห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาผลกระทบจากดวงจันทร์มาตั้งแต่ต้น แต่ได้ความคิดดังกล่าวจากการคุยกันระหว่างดื่มในผับแห่งหนึ่งช่วงพระจันทร์เต็มดวงพอดี แล้วเกิดแนวคิดดังกล่าวขึ้น จึงได้ศึกษาข้อมูลเก่าๆ เกี่ยวกับการนอนหลับของอาสาสมัครดูว่าปัญหาการนอนระหว่างพระจันทร์เต็มดวงหรือไม่
       
       คาโจเคนให้ความเห็นแก่ไลฟ์ไซน์ว่า เขาใช้เวลานานกว่า 4 ปีกว่าจะตัดสินใจตีพิมพ์การค้นพบของเขา เพราะเขาเองก็ไม่เชื่อในผลที่ได้ และมีความสงสัยต่อสิ่งที่ค้นพบ จึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้อื่นร่วมตรวจสอบการค้นพบนี้ด้วยการทดลองซ้ำ

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคระบาดทำลาย “ต้นโอ๊ค” ในอังกฤษ



โรคระบาดทำลาย “ต้นโอ๊ค” ในอังกฤษ



 
    อังกฤษกำลังวิตกต่อโรคติดต่อที่ระบาดในต้นโอ๊ค ซึ่งเป็นไม้ใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญต่อสัตว์น้อยใหญ่ในป่า โดยพบรอยด่างจากของเหลวในลำต้นซึมออกมาจนไม้ใหญ่ยืนต้นตาย นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีต้นไม้หลายพันต้นเป็นโรคนี้ และเชื่อว่าแมลงปีกแข็งมีส่วนให้เกิดโรค อีกทั้งยังจำแนกแบคทีเรียจากต้นที่ตายแล้วเพื่อดูว่ามีแบคทีเรียใดสัมพันธ์กับโรคหรือไม่

      ข้อมูลจากบีบีซีนิวส์ระบุว่า โรคตายเฉียบพลันในต้นโอ๊ค (Acute Oak Decline) กำลังระบาดหนักในอังกฤษ โดยโรคดังกล่าวทำให้ต้นโอ๊คที่โตเต็มที่แล้วมีรอยด่างจากการหลั่งของเหลวออกมาตามลำต้น ซึ่ง ดร.ซานดรา เดนมาน (Dr.Sandra Denman) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากสำนักคณะกรรมการป่าไม้อังกฤษ ให้สัมภาษณ์แก่รายการวิทยุท้องถิ่นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาใหญ่ในอังกฤษ

       ดร.เดนมานกล่าวว่า พวกเขาพบปัญหาดังกล่าวแค่ในอังกฤษ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในวงกว้างแค่ไหน เพราะไม่ได้ทำการสำรวจอย่างเป็นกิจวัตรแต่ก็ประมาณได้ว่ามีต้นโอ๊คหลายพันต้นที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แมลงปีกแข็งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคนี้ และพวกเขากำลังจำแนกแบคทีเรียจากต้นโอ๊คที่ตายแล้วเพื่อหาว่าแบคทีเรียชนิดใดสัมพันธ์กับการระบาดของโรคในครั้งนี้
       
       “แต่เพราะโอ๊คของเราเป็นไม้ประจำถิ่นที่มีฐานพันธุกรรมที่หลากหลาย ดังนั้น เราหวังว่าโอ๊คบางต้นจะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติต่อโรคร้ายนี้ด้วย” ดร.เดนมานให้ความเห็น

        โรคดังกล่าวทำให้ต้นโอ๊คตายได้ในเวลา 4-5 ปี และหนึ่งในอาการของโรคคือมีของเหลวสีเข้มไหลออกจากเปลือกต้นโอ๊คไปตามลำต้น ซึ่งกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและการเกษตรของอังกฤษ ได้สนับสนุนทุนวิจัยราว 50 ล้านบาท เพื่อศึกษาโรคนี้ให้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งหาวิธีในการจัดการ

       ด้าน ดร.คีธ เคอร์บี (Dr.Keith Kirby) นักนิเวศวิทยาผืนป่าจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) กล่าวว่า โรคต้นโอ๊คตายเฉียบพลันนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจทำให้ต้นโอ๊คขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาวและรอดจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในอดีตมาได้ต้องตายเพราะโรคใหม่นี้ ซึ่งพบว่ากำลังระบาด แม้ว่าการระบาดจะจะเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับศัตรูพืชและโรคอื่นๆ แต่การแพร่ระบาดอย่างช้าๆ นี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อคำนึงในแง่ของอายุขัยต้นไม้

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตามติดสิบปีภารกิจสำรวจดาวอังคารของ "ออพพอร์ทูนิตี้"


ตามติดสิบปีภารกิจสำรวจดาวอังคารของ "ออพพอร์ทูนิตี้"



ก้าวย่างสู่ปีที่ 10 แล้วนับตั้งแต่จากโลกมาของยานสำรวจดาวอังคารขององค์การนาซา นามเก๋ไก๋ว่า "ออพพอร์ทูนิตี้" หรือ Opportunity ที่แปลว่า ความหวัง นั่นเอง ล่าสุด รถวิ่งบนดาวอังคารลำนี้ออกวิ่งอีกครั้งหนึ่งแล้ว และต้องทำการสำรวจอีกหลายสัปดาห์กันเลยทีเดียว


เป้าหมายของการสำรวจครั้งนี้มีชื่อว่า Solander Point ที่จะทำให้ยานออพพอร์ทูนิตี้ได้เข้าไปสำรวจยันพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศสูงกว่าพื้นที่ที่ชื่อ Cape York ที่สำรวจมาตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา ทั้งสองพื้นที่นี้อยู่ทางขอบตะวันตกของ Endeavour Crater ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 กิโลเมตร


"การไปสู่ Solander Point ก็เหมือนกับการเดินขึ้นถนนที่เราจะสามารถมองเห็นภาพตัดขวางของชั้นหินได้" เรย์ อาร์วิดสัน แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน รองผู้อำนวยการโครงการนี้เผย


Solander Point ยังมีข้อดีตรงที่ว่าอยู่ไปทางเหนือของดาวอังคาร ที่ถือเป็นข้อดีสำหรับรถสำรวจที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่จะได้รับแสงอาทิตย์มากขึ้น และยานก็จะกลับมายังซีกใต้ของดาวอังคารในช่วงหน้าหนาว


"เราขยับขึ้นไปทางเหนือ 15 องศาก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว" จอห์น คาลลาส แห่งองค์การบริการการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือนาซา เผย


ช่วงเวลากลางวันที่สั้นที่สุดของดาวอังคารในช่วงหน้าหนาวครั้งที่ 6 ของดาวอังคารจะมาถึงในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 นี้


สำหรับโครงการนี้ นาซาได้ปล่อยรถสำรวจดาวอังคารไปสองคัน คือ ยานสปิริต ในวันที่ 10 มิถุนายน 2003 และยานออพพอร์ทูนิตี้ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2003 ยานทั้งสองถึงดาวอังคารในเดือนมกราคม 2004 และปฏิบัติภารกิจหลักระยะเวลา 3 เดือนประสบความสำเร็จ จึงได้เริ่มทำงานตามภารกิจเสริมมาเป็นเวลาหลายปี ยานทั้งสองพบหลักฐานว่า ดาวอังคารในยุคก่อนนั้น "เปียก" โดยในปี 2010 นั้น ยานสปิริตยุติการปฏิบัติการในช่วงที่เข้าสู่หน้าหนาวหน้าที่ 4 ของดาวอังคาร ส่วนยานออพพอร์ทูนิตี้ก็เริ่มเก่า และการทำงานของข้อต่อบางส่วนก็เริ่มใช้การไม่ได้ แต่ยังสามารถทำงานอื่นๆต่อไปได้ เช่น กระบวนการขุดเจาะสำรวจดิน


ก่อนหน้าที่จะจากย่านที่ชื่อ Cape York ไปเมื่อเดือนที่แล้วนั้น ยานออพพอร์ทูนิตี้ใช้เครื่องมือข่วนหิน สเปกโทรมิเตอร์เอ็กซ์เรย์อนุภาคอัลฟา และกล้องถ่ายภาพระดับไมโครสเกล ทำการสำรวจหินที่เรียกว่า Esperance และค้นพบว่ามีส่วนผสมของดินเหนียวอยู่


"การค้นพบ Esperance นับเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุดของทุกอย่างเลย การค้นพบนี้บอกเราว่า เคยมีสภาพแวดล้อมที่ไปเปลี่ยนแร่ธาตุได้เช่นกัน แปลว่า มีน้ำเคลื่อนไหวไปตามหินนี้แน่ๆ" สตีฟ สเควเรส แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์เผย


Cape York นั้นเป็นพื้นที่ที่ไม่กว้างมาก แต่ Solander Point นี้จะกว้างกว่าเป็น 10 เท่า และนักวิทยาศาสตร์ก็หวังว่า เราจะค้นพบอะไรมากขึ้นเกี่ยวกับดาวอังคารในภารกิจในอนาคตนี้ นอกจากนี้ บริเวณ Endeavour Crater ก็เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยหินยุคเก่าที่ยานออพพอร์ทูนิตี้น่าจะสำรวจเจอข้อมูลดีๆได้



อ้างอิง:vcharkarn.com/vnews/447020
NASA/Jet Propulsion Laboratory (2013, June 7). Mars rover opportunity trekking toward more layers. ScienceDaily. Retrieved June 10, 2013, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/130607153229.htm

เผยข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์


เผยข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์



น่าทึ่งไม่ใช่เล่น เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ ประเทศอังกฤษ จับข้อมูลรายละเอียดการล่าเหยื่อของเสือชีตาร์ในธรรมชาติจากเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จีพีเอส วงแหวนตรวจจับการเคลื่อนที่ และอื่นๆ


ศาสตราจารย์อลัน วิลสัน และทีมงานสามารถบันทึกความเร็วสูงสุดของการวิ่งของเสือชีตาร์ได้ถึง 93 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว


ก่อนหน้านี้ การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของเสือชีตาร์ทำได้เพียงแค่การวัดความเร็วเทียบกับเหยื่อในทางเส้นตรง เช่น การวัดเทียบกับสุนัขเกรย์ฮาวน์ที่ชีตาร์สามารถล่าได้ แต่สำหรับการเสือชีตาร์ในธรรมชาตินั้น การประมาณความเร็วก็ทำได้เพียงแค่การศึกษาจากกล้องภาพยนตร์หรือการสังเกตการณ์โดยตรงในธรรมชาติ ในช่วงเวลาจริงที่ชีตาร์ออกล่าเหยื่อ


ล่าสุด ศาสตราจารย์วิลสัน และทีมงาน ได้พัฒนาวงแหวนติดตามที่ฝังอุปกรณ์จีพีเอสและเซนเซอร์อิเล็กทรอนิกส์วัดการเคลื่อนไหว (อุปกรณ์วัดความเร่ง สนามแม่เหล็ก และไจโรสโคป) ที่สามารถส่งข้อมูลของตำแหน่งที่ประมวผลแล้ว ความเร็ว และข้อมูลเซนเซอร์ต่างๆจากการเคลื่อนไหวของชีตาร์มายังศูนย์ประมวลผลข้อมูลโดยตรง และวงแหวนดังกล่าวใช้พลังงานจากแผงสุริยะ แบตเตอรี่ที่ประจุไฟใหม่ได้และแบบไม่ได้


ซอฟต์แวร์ของวงแหวนติดตามจะทำการตรวจจับความเร่งที่เกิดขึ้นแล้วสร้างเป็นข้อมูลสรุปการวิ่งและตรวจจับเหตุการณ์การล่าเหยื่อของชีตาร์ นอกจากนี้ยังตรวจจับสถานะการทำงานของวงแหวนด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ เวลาในการดเนินการในแต่ละวัน จนกระทั่ง นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลของการล่าเหยื่อออกมา


โดยรวมแล้ว นักวิจัยสามารถบันทึกข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์ตัวเมียและตัวผู้รวมสามตัวได้ 367 ครั้งจากการเก็บข้อมูลยาวนานถึง 17 เดือน มีการล่าเหยื่อเกิดขึ้นหลายๆครั้งที่ประสบผลสำเร็จ และข้อมูลก็ถูกส่งมาอย่างชัดเจน ละเอียด


จากข้อมูลพบว่า เสือชีตาร์จะวิ่งด้วยความเร็วเริ่มต้นพร้อมทั้งมีความเร่ง จากนั้นเสือชีตาร์จะลดความเร่งนั้นลงและเปลี่ยนกลยุทธ์ก่อนที่จะจับเหยื่อ นักวิจัยพบว่า เสือชีตาร์มีการเร่งความเร็วเกินหนึ่งช่วงประมาณ 1 ใน 3 ของข้อมูลการล่าเหยื่อทั้งหมด ในกรณีที่ประสบความเร็จจากการล่าเหยื่อนั้นนักวิจัยก็สามารถรับรู้ได้ด้วยการที่ความเร็วในการวิ่งลดลงเหลือศูนย์ ซึ่งหมายความว่า ได้เหยื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเหยื่อในกรณีนี้คือ ละมั่งแอฟริกา"อิมพาลา"


ระยะทางเฉลี่ยในการวิ่งนั้นอยู่ที่ 173 เมตร ระยะทางที่วิ่งสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 407-559 เมตร และมีการวิ่งโดยเฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อวัน และแม้จะไม่ได้เหยื่อ ถ้าเฉลี่ยแล้วการวิ่งด้วยความเร็วสูงของเสือชีตาร์ก็ทำให้ในวันๆหนึ่ง ชีตาร์จะวิ่งประมาณ 6,040 เมตร


นักวิจัยยังได้พบถึงปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อด้วย การล่าเหยื่อที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะมีการลดความเร่งลงอย่างมาก แต่จะไม่ห่างจากความเร่งสูงสุดมากเท่าไหร่ นอกจากนี้ เรื่องของระยะทางที่วิ่งมา จำนวนของการวิ่ง และองศาการเลี้ยวก็มีผลกับการล่าเหยื่อเช่นกัน ตัวชี้วัดเหล่านี้มักจะบอกถึงผลของการล่าเหยื่อได้ในช่วงท้ายๆ เพราะช่วงแรกนั้นบ่งบอกอะไรไม่ได้เพราะชีตาร์ต้องเก็บพลังงานหรือทำกิจกรรมที่ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ


ความเร่งสูงสุดของเสือชีตาร์นั้นสูงกว่าของม้าแข่งถึง 2 เท่า และเกิดกว่าความเร็วของการทดลองที่วัดจากการล่าสุนัขเกรย์ฮาวน์ไปเยอะ ความเร่งของเสือชีตาร์ระดับนี้มากกว่าของอูเซน โบลต์ ราชานักวิ่งร้อยเมตรของโลกถึงสี่เท่า


การบังคับทิศทางและการต้น ก็ยังมีผลต่อความสำเร็จในการล่าเหยื่อด้วย และความเร่งสูงสุดนั้น นักวิจัยก็พบว่า อยู่ที่ 13 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง


ศาสตราจารย์อลัน วิลสัน เผยว่า "แม้ว่าเสือชีตาร์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก แต่เราก็แทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการวิ่งจริงๆของสัตว์ชนิดนี้เลย โดยเฉพาะในเรื่องของการล่าเหยื่อ เทคโนโลยีของเราทำให้เราสามารถจับรายละเอียดของการเคลื่อนไหวในการออกล่าเหยื่อจริงๆได้เป็นครั้งแรก และผลการศึกษาก็ทำให้เราสามารถบันทึกความเร็วสูงสุด ความเร่งของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ความหน่วง และมวลร่างกายได้"


"ในอนาคต ข้อมูลที่คล้ายๆกันนี้กับสัตว์ตัวอื่นๆก็จะทำให้เรารู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการวิ่ง ความคล่องตัว และความอดทนของสัตว์ได้ จะทำให้เรารู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจจะได้ข้อมูลการคัดเลือกโดยธรรมชาติของสัตว์บางชนิด ข้อมูลการอยู่อาศัย การสร้างสังคม ที่พักอาศัย และการล่าเหยื่อได้"


สำหรับเสือชีตาร์ที่ศึกษาในการทดลองครั้งนี้อยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์นักล่าบอตสวานา ในพื้นที่บอตสวานาทางตอนเหนือของโอคาวานโกเดลตา

Royal Veterinary College (2013, June 14). Wild cheetah accelerate fast and reach speeds of up to 58 miles per hour during a hunt. ScienceDaily. Retrieved June 16, 2013, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/130614082900.htm

งานวิจัย: A. M. Wilson, J. C. Lowe, K. Roskilly, P. E. Hudson, K. A. Golabek, J. W. McNutt. Locomotion dynamics of hunting in wild cheetahs. Nature, 2013; 498 (7453): 185 DOI: 10.1038/nature12295

โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวในหนู


โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวในหนู




นักวิจัยจากเมืองเบอร์ลินและเมืองมิวนิคที่เยอรมันนี และจากเมืองอ็อกฟอร์ดที่อังกฤษนั้นได้เปิดเผยว่ามีโปรตีนตัวหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์นั้นควบคุมพัฒนาการของเยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อและส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของหนูที่ไม่มีโปรตีนตัวดังกล่าวหรือถูกสารยับยั้งไว้ไม่ให้ทำงาน ซึ่งผลการทดลองได้ชี้ให้เห็นว่าตัวยาที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อส่งผลกับโปรตีน beta-secretase-1 โดยเฉพาะนั้น อาจจะมีผลค้างเคียงจากการรักษาโรคอัลไซเมอร์ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติกับการเคลื่อไหวร่างกายได้



โรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นอาการทางประสาทที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ซึ่งองค์การอนามัยโลกหรือ WHO นั้นคาดการณ์ไว้ว่ามีคนประมาณ 18 ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และตัวเลขดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้น 34 ล้านคนภายในปี 2025 อีกด้วย ทางนักวิทยาศาสตร์รู้ว่าโปรตีน beta-secretase-1 หรืิอ Bace1 ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ โดย Bace1 จะแยกโปรตีนต้นกำเนิด amyloid และสร้างเปปไทด์ Abeta ที่สร้างความเสียดายและสั่งสมตัวในสมอง นำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ และในตอนนี้ พวกเขาก็สามารถเปิดเผยถึงการทำงานของโปรตีน Bace1 ได้อย่างละเอียดมากขึ้นด้วย



“ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าหนูที่ไม่มีโปรตีน Bace1 หรือถูกให้สารยับยั้งเอนไซม์ตัวดังกล่าวนั้นประสบปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายและการเดิน อีกทั้งยังแสดงถึงระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ต่ำด้วย” Carmen Birchmeier, หนึ่งในผู้วิจัยกล่าว “นอกเหนือจากนั้นแล้ว เรายังสามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยว่าการทำงานร่วมกันของ Bace1 และโปรตีน neuregulin-1 หรือ Nrg1 นั้นจำเป็นต่อการรักษาเยื่อหุ้มมัดกล้ามและรักษาไว้ซึ่งระบบการเคลื่อไหวของร่างกายด้วย”



เยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อนั้นเป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่พบได้ตลอดกล้ามเนื้อของสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งมีหน้าที่ตรวจดูการยืดตัวของกล้ามเนื้อและส่งความรู้สึกถึงตำแหน่งของร่างกายไปยังสมอง เหล่านักวิจัยได้ใช้การวิเคราะห์พันธุกรรมเพื่อดูว่า Bace1 นั้นทำงานอย่างไรในหนู “ถ้าหากความเข้มข้นของสัญญาณของ neuregulin-1 ชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า lgNrg1 นั้นลดต่ำลงเรื่อยๆแล้วล่ะก็ ภาวะความเสียหายหรือบกพร่องในพัฒนาการของเยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อของหนูก็จะร้ายแรงขึ้นตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ดูเหมือนว่า Bace1 นั้นจะจำเป็นในการที่จะให้ lgNrg1 นั้นทำงานได้อย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน การสูญเสียการทำงานของ lgNrg1 นั้นทำให้เกิดปัญหากับการเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัวด้วย” Cyril Cheret ซึ่งผู้นำการวิจัยกล่าว



ผู้ผลิตยาตั้งหลายนั้นต่างให้ความสนใจในการหยุดการทำงานของโปรตีน Bace1 เนื่องจากว่ามันเป็นหนทางที่ดูมีความเป็นไปได้ที่จะรักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งถ้าโปรตีนดังกล่าวถูกยับยั้งแล้วล่ะก็ การเกิดขึ้นของโปรตีนอื่นๆที่จะไปทำความเสียหายให้แก่สมองก็จะถูกยับยั้งไปด้วยเช่นกัน “แต่ข้อมูลของเราชี้ให้เห็นว่าผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของการยับยั้งโปรตีน Bace1 ไว้ในระยะยาวนั้นก็คือการรบกวนพัฒนาการของเยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อและความบกพร่องของการเคลื่อนไหวร่างกาย การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญต่อนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังมองหาหนทางพัฒนาตัวยาที่จะไปส่งผลต่อโปรตีน Bace1 และควรจะได้รับความสนใจ” Birchmeier กล่าว 



ในตอนนี้ มีตัวยายับยั้งโปรตีน Bace1 อยู่หลายตัวที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบในขั้นตอนที่ 2 และ 3 สำหรับการใช้ทางการแพทย์เพื่อการรักษาโรคอัลไซเมอร์แล้ว



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โคลนหนูจากเลือดหยดเดียว


โคลนหนูจากเลือดหยดเดียว






      นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นโคลนหนูขึ้นจากเลือดหยดเดียว โดยใช้เลือดจากหางของหนูตัวให้เพื่อผลิต “หนูโคลน” ที่ได้ออกมาเป็นเพศเมีย มีอายุยืนตามปกติและออกลูกได้
     
      การโคลนหนูดังกล่าวเป็นผลงานของทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ริเกนไบโอรเสิร์ช (Riken BioResource Center) ในสึคุบะ ญี่ปุ่น ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า พวกเขาได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานลงวารสารไบโอโลจีออฟรีโปรดัคชัน (Biology of Reproduction)
    
     หนูที่ถูกโคลนออกมานั้นมีชีวิตยืนยาวตามปกติและออกลูกได้ ซึ่งกว่าจะได้หนูโคลนนิงดังกล่าวทีมนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้สำเนาที่ถอดแบบพันธุกรรมของหนูตัวหนึ่งถึง 600 สำเนา โดยอาศัยพันธุกรรมจากหลายส่วนในร่างกายหนู รวมถึงเซลล์เม็ดขาวจากต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูกและตับ
    
     ทั้งนี้ ทีมวิจัยญี่ปุ่นพยายามพิสูจน์ว่า เซลล์เลือดที่ไหลเวียนในร่างกายนั้นสามารถนำไปโคลนได้เช่นกัน โดยเป้าหมายเพื่อหาแหล่งพันธุกรรมที่หาได้ง่ายจากเซลล์เพื่อโคลนหนูทดลองที่มีสายพันธุ์มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์
    
     งานวิจัยดังกล่าวนำโดย อัตซูโอะ โอกูระ (Atsuo Ogura) จากศูนย์ริเกนไบโอซอร์ส ซึ่งพวกเขาได้นำเลือดจากหางของหนูบริจาค จากนั้นยกเอาเซลล์เม็ดเลือดขาวออก ใช้เฉพาะนิวเคลียสของเซลล์เพื่อทดลองโคลนนิง เทคนิคเดียวกับการผลิตแกะดอลลี่ (Dolly) สัตว์เลี้ยงลูกนมโคลนนิงตัวแรกในเอดินบะระ สหราชอาณาจักร
    
     เทคนิคดังกล่าวคือการย้ายฝากนิวเคลียสเซลล์ร่างกาย (somatic cell nuclear transfer) ซึ่งเป็นการย้ายฝากนิวเคลียสจากเซลล์ร่างกายตัวเต็มวัย เช่น เลือด หรือ เซลล์ผิวหนัง เป็นต้น เข้าไปยังเซลล์ไข่ที่ยังไม่ได้รับการผสม และถูกนำนิวเคลียสออก
    
     บีบีซีนิวส์ระบุว่าในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสารไบโอโลจีออฟรีโปรดัคชันนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้แจงถึงการศึกษาดังกล่าวว่า เป็นการสาธิตครั้งแรกว่าหนูถูกโคลนได้ด้วยการใช้นิวเคลียสของเซลล์เลือด และใช้เซลล์ที่ได้มาโคลนทันทีหลังเก็บจากสัตว์ตัวให้พันธุกรรม โดยที่เราไม่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์เหล่านั้นด้วย
     
       ทีมวิจัยระบุว่าเทคนิคนี้จะประยุกต์ได้สำหรับการสร้างสำเนาสายพันธุ์หนูที่ประเมินค่าไม่ได้ ซึ่งไม่อาจรักษาไว้ด้วยเทคนิคขยายพันธุ์อื่นแบบเดิมๆ อย่างการเพาะเลี้ยงจากหลอดแก้วแบบไอวีเอฟ (in vitro fertilisation: IVF) หรือการฉีดอสุจิเข้าไปผสมโดยตรงแบบอิคซี่ (intracytoplasmic sperm injection: ICSI) ได้
    
      นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นทีมนี้ใช้เวลาอยู่หลายปีในการโคลนหนู และได้เผยให้เห็นหนูเกือบ 600 ตัวที่ได้จากการโคลนหนูตัวเดียวอย่างต่อเนื่อง 25 รอบ โดยงานวิจัยนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อการผลิตขนาดใหญ่สำหรับสัตว์ที่มีคุณภาพสูงในระดับฟาร์มหรือเพื่อการอนุรักษ์
    
     ด้าน ศ.โรบิน โลเวลล์-แบดจ์ (Professor Robin Lovell-Badge) จากสถาบันวิจัยการแพทย์การแพทย์เอ็มอาร์ซี (MRC National Institute of Medical Research) ในลอนดอน อังกฤษ ให้ความเห็นว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นความก้าวหน้าเล็กๆ ที่ได้จากงานวิจัยก่อนหน้าที่แสดงให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่จะโคลนหนูจากเซลล์เต็มวัยหลายๆ ชนิด ซึ่งรวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วย
   
    โลเวลล์-แบดจ์กล่าวว่า การโคลนจากเซลล์เลือดนี้ให้ประสิทธิภาพที่ดีมาก ซึ่งบ่งบอกว่าแม้แต่เลือดหยดเล็กๆ ก็เพียงพอที่จะใช้ในการโคลนเพื่อเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตที่หาได้ยากหรือเป็นชนิดที่มีคุณค่ามากๆ.


วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไม้พุ่ม-ไม้คลุมดิน

ไม้พุ่ม-ไม้คลุมดิน

ไม้พุ่ม
                                                                    
      กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน

การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
กระเจี๊ยบแดงยังมีชื่อเรียกอื่นอีก ได้แก่ ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตาก เรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก                    
                                         กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว


    ขลู่  เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสูงประมาณ 0.5 - 2.5 เมตร ใบมีลักษณะค่อนข้างเรียบรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรและยาว 2.5-10 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านใบสั้นมาก เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ ใบมีกลิ่นหอมฉุน ช่อดอกงอกออกมาจากด้านบนและซอกของใบ กลีบดอกสีม่วง ส่วนของดอกสีม่วงหรือม่วงอ่อน ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกเป็นสันเหลี่ยม 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม เมล็ดมีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม




ขี้ครอก  จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขนาดประมาณ 2-8 ซม. X 2-8 ซม. ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ ก้านใบยาว 1-5 ซม. มีหูใบ 1 คู่ รูปรี กว้าง 0.1 ซม. ยาว 0.2 ซม. ดอก ออกเดี่ยวๆ เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.0 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผล ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ด รูปไตสีน้ำตาลขนาดประมาณ 2-2.5 มม. X 3-4 มม. มีพูละ 1 เมล็ด

ชื่ออื่นๆของขี้ครอก คือ ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล




ชุมเห็ดเทศ   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม.
ใบเป็นใบประกอบขนนก มีความยาวประมาณ 30-60 ซม. ใบย่อยจะเรีงกันเป็นคู่ ๆ 8-20 คู่ ลักษณะใบย่อยนั้นจะรูปขอบขนานแกมรูปรี โคนใบจะมน ตรงปลายใบของมันมนหรือเว้าเล็กน้อย ฐานใบนั้นจะมน และไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ขอบใบเรียบเป็นสีแดง ใบจะมีความกว้างประมาณ 5-7 ซม. และยาวประมาณ 5-15 ซม. ก้านใบย่อยสั้นมาก
ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 20-50 ซม. ดอกจะเป็นสีเหลือง ดอกตูมนั้นคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน สีเขียวตรงปลายของมันจะแหลม ส่วนก้านดอกนั้นจะสั้นและมีลายเส้นเห็นได้ชัด
เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 9-10 อัน แต่มีความยาวไม่เท่ากันอับเรณูเมื่อแก่จะมีรูเปิดที่ยอด ส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่1อันผิวเกลี้ยง
ผลนั้นจะออกฝัก แต่ไม่มีขน ฝักเป็นรูปบรรทัด หนา มีความกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. และยาวประมาณ 10-15 ซม. จะมีปีกอยู่ 4 ปีก มีความกว้างประมาณ 5-8 มม. และยาวประมาณ 7-10 มม.ผิวนอกนั้น จะขรุขระเป็นสีดำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


ปอบิด  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว อ่อนคล้ายเถา บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและมียางเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นใบสาก ท้องใบจะมีขน
กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว ยาว 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุกระหว่างต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ
มีกลีบรองกลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ผล มีลักษณะเป็น
ฝักยาว กลม บิดเป็นเกลีบวมีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาว 3-4 เซนติเมตร ออกผลประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ แก่เต็มที่ฝักจะอ้าออก


พุดทุ่ง หรืออาจเรียกว่า พุดน้ำ, ถั่วหนู, หัสคุณใหญ่, หัสคุณเทศ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5 ฟุต ลำต้นกลม ตั้งตรง เปลือกต้นของกิ่งก้าน และลำต้นมีสีน้ำตาลดำ ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลม เนื้อหนา ดอกเป็นช่อกลีบสีขาวหนา ผลเป็นฝักกลมยาว





มลุลี เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีดอกสีขาวคล้ายมะลิ มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน เลื้อยไกลราว 1-2 เมตร





มะจอเต๊ะ เป็นไม้พื้นเมืองที่พบอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดนราธิวาส จึงทำให้ชื่อเป็นในภาษายาวี ลักษณะเป็นไม้พุ่มอิงอาศัยเกาะตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้น กิ่งและใบ มีน้ำยางสีขาวขุ่น ผลแบบมะเดื่อออกตามซอกใบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือชนิดใบแคบ ที่ใบรูปขอบไข่กลับ ขนาดใบ กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร กับชนิดใบกว้าง ใบรูปไข่กลับกว้าง ๆ จนเกือบกลม ขนาดใบ กว้าง 4 – 7 เซนติเมตร ยาว 5 – 9 เซนติเมตร ทั้งสองพันธุ์ สามารถพบได้ในป่าในแถบจังหวัดนราธิวาส


รามใหญ่ มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา เหมือด อ้ายรามใบใหญ่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5 -3 เมตร ใบหนา ผิวเรียบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กิ่งอ่อนสีแดงอมน้ำตาล คนสมัยโบราณ มักคุ้นกับ "รามใหญ่" ในรูปที่นำใบ-ยอดมาปรุงอาหาร รวมทั้งเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก




อาเคเชีย  เป็นไม้สกุลของไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae ของวงศ์ถั่ว บันทึกเป็นครั้งแรกในแอฟริกาโดยนักชีววิทยาชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียส ในปี ค.ศ. 1773 มักจะเป็นไม้ที่มีหนามและฝัก ชื่อมาจากคำว่า ภาษากรีก “ακις” (อาคิส) ที่แปลว่าปลายแหลมเพราะเป็พืชที่มีหนามแหลมของสปีชีส์ “Acacia nilotica” (“อาเคเชียไนล์”) ของอียิปต์
ชื่ออื่นที่รู้จักคือ “ต้นหนาม” หรือ “ต้นวัตเติลส์” หรือ “อาเคเชียไข้เหลือง” และ “อาเคเชียร่ม”
อาเคเชียมีด้วยกัน 1300 สปีชีส์ทั่วโลก ในจำนวนนั้น 960 สปีชีส์อยู่ในออสเตรเลีย นอกจากนั้นก็อยู่ในบริเวณที่มีอากาศอุ่นของทั้งสองซีกโลกที่รวมทั้งยุโรป, แอฟริกา, เอเชียใต้ และ อเมริกา


ไม้คลุมดิน

ก้ามปูหลุด
กำแพงเงิน
กำมะหยี่ม่วง
คุณนายตื่นสาย
โครงเคลงเลื้อย
เงินไหลมา
ซิไซเดซี่
ดาดตะกั่ว
บัวดิน
บุษบาฮาวาย
ปริกน้ำค้าง
ปีกแมลงสาบ
พรมออสเตรเรีย
ปีปฝรั่ง
เปเปอร์โรเมีย
พรมกำมะหยี่
ผักเป็ด
ฟ้าประดิษฐ์
ฟิโลเดนตรอน
เฟิน
รางทอง
ว่านกาบหอยแครง
เวอร์บีน่า
แววมยุรา
หนวดปลาดุก
หลิวไต้หวัน
หัวใจสีม่วง
ดาดทับทิม
กระดุมทองเลื้อย